SLS ย่อมาจากคำว่า School Lunch System แรกเริ่มเดิมทีนั้นเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนในสังกัด สพฐ. เก็บข้อมูลในรูปแบบค่าตัวเลข โดยผู้ใช้(โรงเรียน)นำข้อมูลตัวเลขจากฐานข้อมูล DMC (Data Management System) มากรอกลงในช่องฟอร์มของ SLS ที่ออกแบบขึ้น เพื่อนำตัวเลขที่ได้มาคำนวณค่าร้อยละภาวะทุพโภชนาการในประเภทต่าง ๆ 5 ประเภท ได้แก่ 1.ผอม 2.เตี้ย 3.เริ่มอ้วน=>อ้วน 4.ผอมและเตี้ย 5.อ้วนและเตี้ย
การเก็บข้อมูลภาวะทุพโชนาการของระบบ SLS ในช่วงปีแรกนั้นค่อนข้างจะมีความคลาดเคลื่อนจากฐานข้อมูล DMC บ้าง เพราะเป็นลักษณะการกรอกข้อมูลตัวเลขรวมของจำนวนนนักเรียน ซึ่งระบบ SLS เข้าใจปัญหาตรงส่วนนี้เป็นอย่างดี แต่เพราะในยุคเริ่มต้นของระบบ SLS นั้นยังขาดการประสานกับระบบ DMC แต่ SLS เข้าใจเป็นอย่างดีว่าสักวันหนึ่งจะต้องดึงข้อมูลรายบุคคลของระบบ DMC มาประมวลผลจำนวนภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนให้จงได้
ทีมสารสนเทศของกองทุนฯ มีการประชุมเพื่อหาแนวทางในการได้มาซึ่งข้อข้อมูลที่ถูกต้องของภาวะทุพโภชนาการนักเรียน และแนวทางที่ดีที่สุดคือการนำข้อมูลจาก DMC มาแปลผลเพราะเป็นฐานข้อมูลนักเรียนหลักที่ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ และในที่สุดในปี 2563 ก็เกิดความร่วมมือกันระหว่างกองทุนฯ กับ DMC ก็เป็นผล SLS ได้รับข้อมูลจาก DMC มาแปรผล แต่ในช่วงแรกของการแปลผลข้อมูลภาวะทุพโภชนาการนั้นต้องบอกเลยว่าไม่ง่ายเลย เพราะต้องทำการศึกษาฐานข้อมูล DMC อย่างละเอียด และต้องมีการลองเขียนโค้ดเพื่อแปลผลในหลาย ๆ รูปแบบก่อนที่จะได้รูปแบบที่ลงตัว แต่สิ่งที่ทีมงานได้ร่วมกันสร้างขึ้นเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างมากมาย โรงเรียนสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้เลยไม่ต้องมากรอกข้อมูลเหมือนที่เคยทำผ่านมา (2 ปี) ช่วยลดภาระการทำงานของเขตและโรงเรียนได้เป็นอย่างมาก และสิ่งที่เราทำได้ตามเป้าหมายที่เราคิดไว้คือ เราสามารถประมวลผลข้อมูลไดถึงระดับรายบุคคลได้
Code Making